ผ่าสมอง John Scofield

 

ในบรรดานักกีตาร์แจ๊สยุคใหม่ที่ได้รับความนิยมจากนักฟังบ้านเรานั้น คนหนึ่งที่ควรพูดถึงก็คือ John Scofield เราจะมาดูกันว่าเขามีแนวความคิดในการเล่นที่น่าสนใจอะไรบ้าง

ความสัมพันธ์ ระหว่าง Minor pentatonic scale และ Lydian Mode

ไมเนอร์เพ็นทาโทนิกสเกล ก็คือสเกลไมเนอร์ที่ประกอบไปด้วยโน๊ตเพียงห้าตัว ดังตัวอย่างในชาร์ตข้างล่างนี้

ส่วน Lydian Mode ก็คือเมเจอร์สเกลที่มีการขยับเสียงตัวโน๊ตตัวที่ 4 ขึ้นไปครึ่งเสียง ดังนั้น จะได้ผลลัพธ์ดังนี้ C Lydian Mode = C/D/E/F#/G/A/B

เทคนิคอันหนึ่งที่สโคฟิลด์ใช้เป็นประจำในการเล่นอิมโพรไวส์คือ เล่นไมเนอร์เพ็นทาโทนิกในคีย์ที่ต่ำกว่า Root ของคอร์ดที่กำลังเล่นอยู่ครึ่งเสียง เช่นในคอร์ด CMaj7 ให้เล่น B minor pentatonic ลงไป ถ้าสังเกตุให้ดีมันจะให้ผลคล้ายกับการเล่น C Lydian Mode (โดยละตัว C และ G) บน CMaj7 นั่นเอง ดังตัวอย่างข้างล่างนี้

ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นสิ่งที่สโคฟิลด์ได้ศึกษามาจากวิธีการเล่นของ จอห์น โคลเทรน นั่นเอง

 

การเล่นโน๊ตข้ามสาย

อันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคการเล่นที่สโคฟิลด์ชอบใช้มาก คือการเล่นคู่เสียงห่างๆจากการเล่นข้ามสายไปมา ที่จริงตัวโน๊ตที่เล่นก็คือ C Lydian Mode บน CMaj7 เหมือนตัวอย่างก่อนหน้านี้ แต่การเล่นข้ามสายทำให้เกิดสำเนียงแปร่งๆแบบสโคฟิลด์ขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ

 

Rub Note

คำว่า Rub Note เป็นศัพท์เฉพาะที่สโคฟิลด์ตั้งขึ้นมาเอง โดยใช้ในการเรียกลักษณะการเล่นโน๊ตที่มีคู่เสียงกระด้างอันเกิดจากการเล่น คู่ 2 minor, 2 major หรือ #9 ในการเล่นของสโคฟิลด์จะมีการใช้โน๊ตลักษณะนี้ค่อนข้างบ่อย ซึ่งก็เป็นลักษณะเฉพาะตัวของเขาที่ทำให้เสียงของเขามีสำเนียงแตกต่างจากนักกีตาร์แจ๊สคนอื่นๆอยู่พอสมควร

ตัวอย่างการเล่นคอร์ดที่มี Rub note โดยตัวโน๊ตที่เป็นสายเปล่าจะทำหน้าที่เป็น Rub note;

 

ตัวอย่างการไล่สเกลแบบมีโน๊ตจากการเล่นสายเปิดทำหน้าที่เป็น Rub Note;

 

กลับไปหน้าแรก